ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รักของคุณทำคะแนนด้านสังคมได้ ‘ดี’ แค่ไหน?

คุณชอบเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าไหนกันบ้าง? ชอบเข้าเพราะแบรนด์ คุณภาพสินค้า ส่วนลด หรือแค่เพราะอยู่ใกล้? มาดูกันชัดๆ ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่คุณเข้าประจำมีนโยบายทางสังคมที่เปิดเผยต่อสาธารณะมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

 

1.Big C
จำนวนสาขา: 655 สาขา
รายได้: 20,918 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

จากการประเมินทั้งหมดในครั้งนี้ Big C ได้ไป 1 คะแนนจากในด้านเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย เพราะมีการประกาศชัดเจนว่าจะสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยในเส้นทางสินค้ามีความมั่นคงมากขึ้น เช่น ในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากร องค์ความรู้ วัตถุดิบ และเทคโนโลยี ไปจนถึงสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยที่เป็นผู้หญิงด้วย

 

2.CP Fresh Mart
จำนวนสาขา: 417 สาขา
รายได้: 5,178 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

CP Fresh Mart ได้คะแนนทั้งหมด 8 คะแนน ด้านสิทธิแรงงาน 4 คะแนน ด้านเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย 3 คะแนน และด้านด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบ 1 คะแนน

ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร CP Fresh Mart มีแนวทางปฏิบัติในด้านสิทธิแรงงานที่น่าสนใจ เช่น มีการเผยแพร่นโยบายด้านสิทธิแรงงานในเส้นทางอาหาร ซึ่งยึดตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และได้เข้าร่วมโครงการที่มุ่งแ้กปัญหาสิทธิแรงงาน เช่น การเป็นสมาชิก Seafood Task Force เป็นต้น

แม้จะได้ 1 ด้านความโปร่งใส่และความรับผิดชอบ แต่ CP Fresh Mart ยังมีความความพยายามที่ดี โดยเริ่มพัฒนาระบบตรวจประเมินด้านสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGPs) และเริ่มพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับเส้นทางอาหารแบบดิจิทัลที่คลอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหาร การกระจายสินค้า

นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการพัฒนานโยบายการจัดหาสินค้าอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ซึ่งมีคู่ค้ารับนโยบายแล้วกว่า 7,300 รายใน 13 กลุ่มผลิตภัณฑ์

 

3.Foodland
จำนวนสาขา: 20 สาขา
รายได้: 6,102 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

สำหรับ Foodland ยังไม่มีคะแนนในการประเมินครั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลนโยบายที่เปิดเผยต่อสาธารณะและเป็นไปตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของเรา ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า Foodland ไม่มีนโยบายทางสังคม ไม่ได้ทำ หรือทำได้ไม่ดี เพราะการประเมินครั้งนี้ถือครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในการประเมินครั้งต่อๆ ไป

 

4.Gourmet Market
จำนวนสาขา: 6 สาขา
รายได้: 5,093 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

สำหรับ Gourmet Market ยังไม่มีคะแนนในการประเมินครั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลนโยบายที่เปิดเผยต่อสาธารณะและเป็นไปตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของเรา ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า Gourmet Market ไม่มีนโยบายทางสังคม ไม่ได้ทำ หรือทำได้ไม่ดี เพราะการประเมินครั้งนี้ถือครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในการประเมินครั้งต่อๆ ไป

 

5.Makro
จำนวนสาขา: 115 สาขา
รายได้: 172,790 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

Makro ได้คะแนนทั้งหมด 8 คะแนน จากด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบ  3 คะแนน ด้านเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย 3 คะแนน และด้านสิทธิแรงงาน 2 คะแนน

Makro เป็นธุรกิจค้าส่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีมาตรการการลดความเสี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนหลักการ UNGPs และส่งเสริมการรายงานการกระทำผิดหลักการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานแที่ควบคุมดูแลด้านสิทธิมนุษยชนภายในบริษัท ส่วนรายงานและแถลงการณ์ของบริษัทก็ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

Makro ยังมีความพยายามด้านความโปร่งใส่และความรับผิดชอบ เช่น การพัฒนาฉลากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหาร นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยในเส้นทางอาหารให้มีอำนาจการต่อรองที่เข้มแข็งขึ้นด้วย

 

6.Tesco Lotus
จำนวนสาขา: 1,945 สาขา
รายได้: 218,163 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

Tesco Lotus ได 21.5 คะแนน จาก ด้านสิทธิแรงงาน 10 คะแนน ด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบ 7 คะแนน ด้านเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย 3.5 คะแนน และด้านสิทธิสตรี 1 คะแนน

Tesco Lotus เป็นบริษัทลูกของ Tesco PLC จากสหราชอาณาจักร บริษัทมีแนวทางการปฏิบัติที่น่าสนใจด้านสิทธิแรงงาน เช่น การเผยแพร่จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจที่แสดงความตั้งใจที่จะไม่ละทิ้งโรงงานผลิตและแปรรูปอาหารหากมีการค้นพบปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ด้านแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่จะใช้อำนาจต่อรองเพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์แทน

Tesco Lotus ยังทำได้ดีในหมวดความโปร่งใส่และความรับผิดชอบ โดยมีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน และความพยายามลดข้อจำกัดของการประเมินด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในเส้นทางสินค้าของบริษัท

และได้รับคะแนนความพยายามด้านเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยจากการสนับสนุนเกษตรกรร่ายย่อยผ่านโครงการประชารัฐอย่าง ‘โครงการปลูกผักกลางนา ทุ่งกุลาฯ ยิ้มได้’ ที่สร้างรายได้เสริมให้ชาวนาด้วยการรับซื้อผลผลิตเพื่อจำหน่ายในสาขาของ Tesco Lotus ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หมายเหตุ: ผลการประเมินนโยบายของ Tesco Lotus นั้นครอบคลุมถึงนโยบายของบริษัทแม่อย่าง Tesco PLC ด้วย โดยหากพิจารณาเพียงข้อมูลและนโยบายที่ปรากฎในสื่อสาธารณะของ Tesco Lotus ในไทย จะได้รับ 1 คะแนนในหมวดแรงงาน และ 2 คะแนนในหมวดเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย

 

7.Villa Market
จำนวนสาขา: 34 สาขา
รายได้: 5,930 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2559)

สำหรับ Villa Market ยังไม่มีคะแนนในการประเมินครั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลนโยบายที่เปิดเผยต่อสาธารณะและเป็นไปตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของเรา ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า Villa Market ไม่มีนโยบายทางสังคม ไม่ได้ทำ หรือทำได้ไม่ดี เพราะการประเมินครั้งนี้ถือครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในการประเมินครั้งต่อๆ ไป

ดูบทความ อื่นๆ
ส่งเสียง ถึงซูเปอร์มาร์เก็ต
"ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวจากทีมซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก"
หมายเหตุ: อีเมลของคุณจะถูกเก็บรวบรวมโดยทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ สำหรับการรับส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการณรงค์ในประเด็นนี้เท่านั้นโดยจะไม่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยเด็ดขาด และคุณสามารถยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสารจากเราได้ตลอดเวลา