ทุกวันนี้ซูเปอร์มาร์เก็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้คนอย่างปฏิเสธไม่ได้ ผู้บริโภคอย่างเราเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตไปจับจ่ายใช้สอยกันเป็นประจา หลายคนมีบัตรสมาชิกสะสมแต้มและส่วนลดมากมาย
แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราเห็นข่าวจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและกดขี่ผู้คนที่เป็นผู้ผลิตต้นทางอาหารของเรา เช่น การบังคับใช้แรงงานในภาคประมง การซื้อขายที่ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สารเคมีตกค้าง และอื่นๆ จนผู้บริโภคอย่างเราเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าสินค้าที่เราซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตกันอยู่ทุกวันนี้ปนเปื้อนคราบน้าตาของใครมาบ้างหรือเปล่า
นอกจากนี้ งานวิจัยระดับโลกยังพบด้วยว่าธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ส่วนแบ่งที่ ‘คนต้นทาง’ อาหารอย่างเกษตกรรายย่อยและแรงงานได้รับกลับลดลง ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางอาหารให้ดีทั้งต่อผู้บริโภคและคนต้นทางด้วย
เราเชื่อว่าซูเปอร์มาร์เก็ตมีพลังมากพอที่จะช่วยให้เส้นทางอาหารมีความเป็นธรรมและยั่งยืนมากขึ้น แต่จากการประเมินของเราพบว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไทย ยังเปิดเผยนโยบายทางสังคมต่อสาธารณะอยู่น้อยมาก โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมสิทธิสตรีที่แทบไม่พบข้อมูลเลย ซึ่งการไม่มีหรือไม่เปิดเผยนโยบาย อาจทำให้ผู้บริโภคอย่างเราขาดความเชื่อมั่นในตัวซูเปอร์มาร์เก็ตได้
ในฐานะทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ และในฐานะลูกค้าขาประจาของซูเปอร์มาร์เก็ต เราจึงเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อบอกความห่วงใยและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้น 6 ข้อ ต่อซูเปอร์มาร์เก็ตไทย ซึ่งเราเชื่อว่าหากทำได้จริง นอกจากเส้นทางอาหารในประเทศไทยจะเป็นธรรมและยั่งยืนมากขึ้นแล้ว ผู้บริโภคเองก็จะเชื่อมั่นในตัวซูเปอร์มาร์เก็ตที่เรารักมากขึ้นตามไปด้วย
ข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้นต่อซูเปอร์มาร์เก็ตของเรามีดังนี้
1. เปิดเผยนโยบายด้านสังคม รวมถึงแนวทางการทำงานกับคู่ค้า ที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน ให้ผู้บริโภคได้รับทราบผ่านช่องทางสาธารณะ
2. แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงที่ขอบเขตของงานครอบคลุมความรับผิดชอบด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน และมีโครงสร้างการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
3. มีกลไกการร้องทุกข์และเยียวยาที่สอดคล้องกับหลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP) โดยต้องเป็นช่องทางที่เกษตรกรรายย่อย แรงงาน และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ ตลอดจนมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมในการพัฒนากลไกดังกล่าว
4. จัดทำและเปิดเผย “นโยบายด้านสิทธิแรงงานสำหรับคู่ค้า” ที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
5. สนับสนุนคู่ค้าในการปรับปรุงมาตรฐานสิทธิแรงงาน และให้สิ่งจูงใจเชิงบวกแก่ผู้ที่สามารถปรับปรุงมาตรฐานด้านแรงงานอย่างต่อเนื่อง (เช่น การให้เงื่อนไขทางการค้าที่ดีขึ้น) และหากพบว่าแรงงานหรือเกษตรกรรายย่อยถูกเอาเปรียบ ซูเปอร์มาร์เก็ตจะลงไปช่วยคู่ค้าในการจัดการปัญหาดังกล่าว ตลอดจนให้เวลาที่เหมาะสมแก่คู่ค้าในการปรับตัว
6. ลงนามสนับสนุนหลักการส่งเสริมพลังสตรีของสหประชาชาติ (UN Women’s Empowerment Principles) ซึ่งมุ่งส่งเสริมความเป็นผู้นาของสตรี การปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพสาหรับสตรี เป็นต้น
ทั้งนี้ ทีมซูเปอร์มาร์เก็ตที่รักยินดีร่วมหารือและพร้อมทางานกับซูเปอร์มาร์เก็ตทุกราย เพื่อทำให้นโยบายพื้นฐานดังกล่าวสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ภายในกรอบเวลา 1 ปี
ด้วยความปรารถนาดี
ทีมซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก