supermarket
  ตัวแทนธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารของไทยประกาศพัฒนานโยบายและแนวทางปฏิบัติให้มีความยั่งยืน เคารพสิทธิมนุษยชน เป็นธรรมต่อแรงงาน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้านผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคมชี้ยังมีเรื่องให้ต้องแก้ไขอีกมาก พร้อมทำงานร่วมกัน แคมเปญซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป (EU) ในโครงการ SWITCH Asia ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักข่าวไทยพับลิก้า จัดเวทีเสวนาสาธารณะ ‘เส้นทางอาหารแห่งอนาคต ธุรกิจค้าปลีกกับความยั่งยืนด้านสังคม’ โดยมีตัวแทนจากธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และภาคประชาสังคมเข้าร่วม และมี ฯพณฯ เอกอัครราชทูต เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ให้เกียรติแนะนำทิศทางความยั่งยืนของผู้บริโภค และภาคเอกชนในยุโรปและทั่วโลก หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าประเด็นความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารอย่างสิทธิแรงงาน สิทธิผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสำคัญมากขึ้น ซึ่งธุรกิจไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเส้นทางอาหารยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งมีการร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีหลักฐานว่าบริษัทจำนวนมากทั้งในไทยและต่างประเทศยังคงละเลยที่จะตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ การจ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม ไปจนถึงการขับไล่รื้อถอน และอื่นๆ อีกมากมาย โดยกรรมการสิทธิฯ ทิ้งท้ายว่าธุรกิจภาคค้าปลีกจำเป็นต้องมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนที่ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในห่วงโซ่อุปทานอาหารสามารถเข้าถึงได้ สำหรับสิทธิแรงงานในภาคเอกชน ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาการอย่างยั่งยืน บริษัท […]
See More..
comsumer
  ภาคประชาสังคมระดมกำลังผู้บริโภค เรียกร้องซูเปอร์มาร์เก็ตไทยให้ขายอาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นธรรมต่อคนต้นทางอย่างเกษตรกรและแรงงานมากขึ้น ทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาสังคมในประเทศไทย แถลงเรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตเปิดเผยนโยบายทางสังคมต่อสาธารณะ เพื่อรับประกันว่าของที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตจะไม่ได้มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเอาเปรียบ ‘คนต้นทาง’ ผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน หลังผลการประเมินที่เผยแพร่เมื่อเดือนกรฎาคมที่ผ่านมาพบว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไทยยังเปิดเผยนโยบายทางสังคมต่อสาธารณะน้อยมาก นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนกินเปลี่ยนโลก หนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ในประเด็นนี้ เปิดเผยว่านอกจากจะเรียกร้องให้เปิดเผยนโยบายทางสังคมมากขึ้นแล้ว ซูเปอร์มาร์เก็ตไทยยังควรเปิดเผยนโยบายสำหรับคู่ค้า ส่งเสริมคู่ค้าให้ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบคนต้นทาง แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับผิดชอบงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ ตลอดจนให้การรับรองมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิแรงงานและสิทธิสตรี เพื่อร่วมสร้างเส้นทางอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืนมากขึ้นในประเทศไทย “แน่นอนว่าซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นผู้เล่นที่มีอำนาจการต่อรองสูง เขาสามารถใช้พลังตรงนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เริ่มตั้งแต่เปิดเผยและพัฒนานโยบายตัวเองให้ดี ดีต่อทั้งสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค และที่สำคัญคือคนต้นทางอย่างเกษตรกรและแรงงาน แล้วขยายไปสู่การส่งเสริมบริษัทคู่ค้าด้วยในอนาคต ถ้าทำแบบนี้จะเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง แถมโดนใจลูกค้าด้วย เพราะเป็นแนวโน้มของผู้บริโภคยุคใหม่ทั่วโลกที่มุ่งสู่ทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป” นางสาวกิ่งกรกล่าว การแถลงข้อเรียกร้องครั้งนี้เกิดขึ้นในงาน ‘Confessions of Shoppers’ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 ที่สยามสมาคม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคใส่ใจและตั้งคำถามต่ออาหารที่จับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะจากซูเปอร์มาร์เก็ต มากขึ้น ทั้งในแง่ของสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม คุณภาพชีวิตของคนต้นทาง ไปจนถึงความปลอดภัยและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม […]
See More..
comsumer
ภาคประชาสังคมเผยคะแนนนโยบายทางสังคม 7 ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินลักษณะนี้ พบนโยบายด้านสิทธิสตรีเป็นด้านที่ได้คะแนนน้อยสุด ย้ำผลคะแนนปีแรกเป็นจุดเริ่มต้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะพัฒนาให้ดีขึ้นในปีต่อๆ ไป ทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาสังคม จัดแถลงข่าวผลการประเมินนโยบายทางสังคมของซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ 7 รายในประเทศไทย 4 ด้าน ได้แก่ 1.สิทธิแรงงาน 2.สิทธิสตรี 3.เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย 4.ความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบว่าสิทธิสตรีเป็นด้านที่ได้คะแนนน้อยสุด โดยมีซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้คะแนนเกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิสตรีเพียง 1 รายเท่านั้น คือ Tesco Lotus (1 คะแนน) ขณะที่ด้านเกษตรกรรายย่อยมีสัญญาณเชิงบวกที่สุด
See More..
comsumer
เครือข่ายประมงพื้นบ้านจับมือองค์การภาคประชาสังคมด้านแรงงาน ร่วมกันแถลงในนาม ภาคีเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมเพื่ออาหารทะเลที่เป็นธรรมและยั่งยืน (Civil Society’s Coalition for Ethical and Sustainable Seafood) เปิดเผยผลวิจัย 2 ชุด พบแรงงานประมงในไทยยังต้องทำงานเกินชั่วโมงที่กฎหมายกำหนด เสี่ยงอันตราย และเข้าถึงข้อมูลด้านสิทธิน้อย ส่วนประมงแบบไม่ยั่งยืนทำเศรษฐกิจเสียหายไม่น้อยกว่า  145 ล้านบาทต่อปี เสนอปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย ระบบตรวจสอบ และการร้องเรียนในอุตสาหกรรมประมง ตลอดจนเร่งประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของการประมงไม่ยั่งยืนอย่างจริงจัง
See More..
"ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวจากทีมซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก"
หมายเหตุ: อีเมลของคุณจะถูกเก็บรวบรวมโดยทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ สำหรับการรับส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการณรงค์ในประเด็นนี้เท่านั้นโดยจะไม่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยเด็ดขาด และคุณสามารถยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสารจากเราได้ตลอดเวลา