Big C ยังไม่ได้คะแนนด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการประเมินปี 2561
CP Fresh Mart เปิดเผยโครงสร้างการกำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน มีการเปิดเผยรายงานและแถลงการณ์ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มีการพัฒนานโยบายการจัดหาสินค้าอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทคู่ค้าผู้ผลิตและแปรรูปอาหาร ซึ่งมีคู่ค้าตอบรับนโยบายแล้วกว่า 7,300 รายใน 13 กลุ่มผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีความความพยายามที่ดีที่ยังไม่ได้คะแนน คือ เริ่มพัฒนาระบบตรวจประเมินด้านสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGPs) และระบบตรวจสอบย้อนกลับเส้นทางอาหารแบบดิจิทัลที่คลอบคลุมการผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหาร และการกระจายสินค้า
Foodland ยังไม่ได้คะแนนด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการประเมินปี 2561
Gourmet Market ยังไม่ได้คะแนนด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการประเมินปี 2561
Makro (ภายใต้เครือ CPF) มีมาตรการการลดความเสี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนหลักการ UNGPs และส่งเสริมการรายงานการกระทำผิดหลักการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานแที่ควบคุมดูแลด้านสิทธิมนุษยชนภายในบริษัท ส่วนรายงานและแถลงการณ์ของบริษัทก็ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาฉลากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้แล้ว 80%
Tesco Lotus มีผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง มีการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงและพัฒนาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนในเส้นทางอาหารทุกประเภทที่นำมาขาย ตลอดจนพยายามลดข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการประเมินด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
Villa Market ยังไม่ได้คะแนนด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการประเมินปี 2561
ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ (transparency) ดูจาก
- นโยบายและการกำกับดูแล
- การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ
- กลไกการร้องทุกข์
- การตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน
- การสนับสนุนผู้จัดหา
- มาตรฐานจริยธรรมทางการตลาด
- อัตราส่วนค่าจ้างและความแตกต่างระหว่างประเทศ