เกือบ 2 ปีก่อน สถานีโทรทัศน์เออาร์ดีของเยอรมนี ออกอากาศสารคดีเชิงสืบสวนสอบสวนชุด Brand Check มีเป้าหมายตรวจสอบเส้นทางการผลิตสินค้าของแบรนด์ต่างๆ แต่ละตอนมีความยาว 45 นาที ตอนหนึ่งที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้างคือ Haribo Check เปิดโปงเบื้องหลังเส้นทางการผลิตกัมมีแบร์ยี่ห้อดัง ซึ่งดูไม่สดใสและเป็นมิตรเหมือนรอยยิ้มของเยลลีหมีน้อยหลากสีสันเอาซะเลย สารคดีดีฉายภาพให้เห็นชีวิตแรงงานในโรงงานผลิตวัตถุดิบสำหรับทำเยลลีแห่งหนึ่งที่บราซิล พวกเขามีสภาพชีวิตไม่จากทาสในอดีต ผู้กำกับสารคดีเล่าว่า “ทาสยุคใหม่” กลุ่มนี้ได้รับจ้างอันน้อยนิด แถมยังถูกบังคับให้นอนนอกอาคารที่พักหรือกระบะรถบรรทุก ทั้งยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่สุดอย่างน้ำดื่มสะอาดและห้องน้ำถูกสุขลักษณะ น่าเศร้ายิ่งกว่าที่เบื้องหลังขนมขบเคี้ยวขวัญใจเด็กๆ กลับถูกผลิตด้วยแรงงานเด็กอีกด้วย พูดถึง “แรงงานเด็ก” ก็ชวนให้คิดถึงด้านมืดของช็อกโกแล็ตแสนอร่อยที่มาจากฝีมือของแรงงานตัวจิ๋ว ประเทศโกตดิวัวร์ซึ่งส่งออกโกโก้มากกว่าะ 30-40% ของปริมาณเมล็ดโกโก้ทั่วโลก กลับพบการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศประเมินไว้ว่ามีถึง 284,000 คน แม้กฎหมายโกตดิวัวร์กำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานอย่างชัดเจน ประกอบกับการเกิดขึ้นของบันทึกความร่วมมือในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตช็อกโกแลตที่เรียกว่า “พิธีสารโกโก้” เมื่อ 15 ปีก่อน หากนั่นไม่ได้ทำให้แรงงานเด็กในเส้นทางการผลิตอาหารกลุ่มนี้หมดไป และการแก้ไขปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ช็อกโกแล็ตแสนอร่อยและเยลลีหมีสีสดใสเป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง “ด้านมืด” ของการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเด็ก อันสะท้อนให้เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร จากดัชนีด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทระดับโลกพบว่า จากบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารกว่า 100 แห่งทั่วโลก มีเพียง […]
See More..
  ยังไม่รู้หรอกว่ารสชาติจะถูกปากหรือเปล่า แต่เห็นวางบนแผงจำหน่ายติดแอร์ฯ เป็นผลกลมแป้นสีสด เปลือกเงาวาวเป็นมัน ก็ดึงดูดให้ขาช็อปซูเปอร์มาร์เก็ตทดลองสัมผัส ตรวจสอบราคา และหยิบใส่ตระกร้าสัก 1 กิโลกรัมกลับไปชิมที่บ้าน ไม่เพียงอุดมด้วยวิตามินซีมีประโยชน์ แถมหาซื้อได้ตลอดปี หากยังรับประทานง่ายเพียงปอกเปลือก เสร็จค่อยประเมินผลตอนรับประทานว่าจะหวานเจี๊ยบ อมเปรี้ยวอมหวาน หรือเปรี้ยวเข็ดฟัน มากกว่ารสชาติและความสะอาดที่พอบอกได้จากความเงางามของผิวส้ม บวกกลยุทธ์ส่งเสริมการขายเล็กน้อยข้างแผงวางจำหน่าย คุณในฐานะผู้บริโภค เคยมองลึกไปมากกว่า ‘เปลือก’ หรือไม่ว่า สินค้าเกษตรจำพวกผักผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารสำเร็จรูป ตลอดจนอาหารแปรรูปที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ข้ามน้ำ ข้ามทะเล ข้ามภูเขามาจากที่ใดบ้าง? ใครคือผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลาง? แต่ละฤดูกาลพวกเขากำไรหรือขาดทุน? กรรมวิธีการผลิตส่งเสริมหรือทำลายสภาพแวดล้อมอย่างไร? แล้วแรงงานต้นน้ำมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือกำลังถูกกดขี่? ซึ่ง “ส้ม” ถือเป็นผลไม้ที่สะท้อนปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ดีที่สุดเพราะเป็นหนึ่งในพืชที่ห่วงโซ่อุปทานมีปัญหามากที่สุด แล้วเราจะทำยังไง? เราจะเอาของที่เป็นพิษให้ตัวเองและคนที่เรารักกินหรือเปล่า?” คำถามน่าคิดทั้งหมดนี้มาจากผู้ร่วมสนทนาท่านหนึ่งบนนเวทีเสวนา ‘บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในนโยบายและแนวทางการจัดซื้อ’ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้แทนร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ 3 เจ้าของไทย แม็คโคร เทสโก้ โลตัส และซีพีเฟรชมาร์ท ร่วมเสนอแผนสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องส้ม แต่ยังรวมถึงผักผลไม้และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วย ล้วนแต่เป็นเรื่องที่คนรักอาหารและนักช็อปควรรู้ไว้   ลดช่องว่างระหว่างซูเปอร์มาร์เก็ตกับเกษตรกรคือแผนห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในไทย […]
See More..
  สด สะอาด ราคาประหยัด คุณภาพดี เป็นเกณฑ์ที่แทบทุกคนใช้เลือกซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ตอนนี้กำลังอ่านฉลากข้างแพ็กเพจ คุณเคยถามตัวเองหรือเปล่าว่า “การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม” และ “การไม่เอาเปรียบผู้คนในห่วงโซ่การผลิต” เป็นเกณฑ์การเลือกซื้อของคุณหรือไม่? ถ้าตอบว่า “ไม่” คุณอาจกำลังตกเทรนด์ความยั่งยืนของโลกปีนี้ บริษัทวิจัยการตลาด ยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชันแนล เปิดเผยรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเทรนด์ผู้บริโภคปี 2019 ระบุว่าปีนี้เป็นปีแห่งการตื่นรู้ของผู้บริโภค หรือ Conscious Consumers ผู้บริโภคซึ่งพิจารณาสินค้าและบริการก่อนเลือกซื้อว่ามีที่มากระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เช่น ปฏิเสธการใช้พลาสติก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งห่วงใยสวัสดิภาพคนและสัตว์ในห่วงโซ่อุปทานอาหาร จนหลานแบรนด์ต้องปรับตัวกับแนวคิดดังกล่าว ความใส่ใจต่อสินค้าและบริการถือเป็นแนวทางสร้างความยั่งยืนที่เกิดจากการตรวจสอบโดยตัวผู้บริโภคเอง บนเวทีสาธารณะ ‘เส้นทางอาหารแห่งอนาคต ธุรกิจค้าปลีกกับความยั่งยืนด้านสังคม’ ฯพณฯ เปียร์กา ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับเทรนด์ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอาหารของไทยและยุโรปไว้อย่างน่าสนใจ “ผมอาจไปยุโรปแล้วซื้ออาหารแช่แข็ง ซึ่งอาจมาจากกัมพูชาและแปรรูปในในไทย สิ่งเหล่านี้ผู้บริโภคมีสิทธิรู้และเลือกได้ เราตรวจสอบได้ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชิ้นใดมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหภาพยุโรปสนับสนุนให้มีห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารไม่อาจเกิดขึ้นจากภาคีใดภาคีหนึ่งเท่านั้น แต่เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐ การเฝ้าระวังของภาคประชาสังคม และแน่นอน การดำเนินการโดยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร ในเวทีเดียวกัน ยังเป็นโอกาสที่ภาคเอกชนรายใหญ่ของไทยในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมอาหารทะเล […]
See More..
งานวิจัยใหม่จากอ็อกแฟมพบปัญหาความไม่เท่าเทียมซ่อนอยู่เบื้องหลังอาหารหลายชนิดที่วางขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย เกษตรกรหรือผู้ผลิตอาหารกลับเป็นผู้ที่ขาดความมั่นคงทางอาหารเสียเอง เพราะรายได้จากการขายสินค้าเกษตรไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ และขาดอำนาจการต่อรอง เช่นเดียวกับแรงงานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่ได้ค่าจ้างน้อยกว่าค่าครองชีพ หลายคนถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและเอารัดเอาเปรียบโดยนายจ้าง ในทางตรงกันข้าม บริษัทค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตกลับมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น จากการคำนวณของอ็อกแฟมพบว่ามากกว่า 30% ของราคาสินค้าตกอยู่กับซูเปอร์มาร์เก็ต อีกกว่า 20% ตกอยู่กับบริษัทผู้ผลิตและแปรรูปอาหารขนาดใหญ่ ในขณะที่ผู้ผลิตรายย่อย เกษตรกร และแรงงานได้ผลประโยชน์รวมกันไม่ถึง 15% และในบางกรณีจะเหลือแค่ 5% เท่านั้น และเมื่อดูการเติบโตของส่วนแบ่งของแต่ละบทบาทบนเส้นทางอาหารช่วงปี 2538-2554 ก็พบว่าส่วนแบ่งผลประโยชน์ของซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ 11.5% รองลงมาคือบริษัทเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย ขณะที่ส่วนแบ่งของเกษตรกรรายย่อยลดลงมากที่สุดถึง 13.1% เมื่อมองลึกลงไปถึงสถานการณ์ของแต่ละผู้เล่นบนเส้นทางอาหาร จะพบว่าหลายๆ วงการเต็มไปด้วยบริษัทใหญ่ๆ ที่มีอำนาจการต่อรองเยอะเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ในสหภาพยุโรป ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เพียง 10 รายครอบครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าครึ่งหนึ่ง และ 50% ของการจำหน่ายอาหารทั่วโลกอยู่ในมือผู้ผลิตอาหารเพียง 50 รายเท่านั้น สถานการณ์ที่ดินก็คล้ายๆ กัน แม้ว่าคนปลูกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายย่อย แต่ประมาณ 65% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลกเป็นที่ดินที่ใหญ่กว่า 300 ไร่ ซึ่งถูกครอบครองโดยเจ้าของเพียง 1 % เท่านั้น หมายความว่าพื้นที่จำนวนมากถูกครอบครองโดยคนจำนวนน้อยนั่นเอง […]
See More..
ในเดือนหนึ่งๆ คุณจ่ายเงินค่าอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตไปเท่าไหร่ แล้วเคยฉุกคิดหรือไม่ว่าใครกันมีส่วนได้ส่วนเสียกับยอดเงินในใบเสร็จของคุณบ้าง? จะของสด ของแห้ง เนื้อสัตว์ หรือผักผลไม้ อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตล้วนผ่านการเดินทางมาโชกโชนก่อนจะมาอยู่จบในหีบห่อสวยๆ บนชั้นวางให้เราได้เลือกช้อป กว่าปลาสดๆ จากทะเลสักตัวจะมานอนตาใสในแผงอาหารทะเลก็ต้องผ่านมือผู้คนรายทางมากมาย ตั้งแต่ชาวประมง คนคัดแยกประเภทปลา คนจัดแยกไซส์ คนรับซื้อ คนขับรถส่งของ จนมาถึงมือพนักงานจัดวางสินค้า แต่ผู้คนที่เกี่ยวข้องจำนวนมากนี้ก็อยู่ห่างไกลเกินกว่าที่เราจะนึกถึงยามไปเดินจับจ่าย และปัญหารายทางที่แวดล้อมเส้นทางอาหารสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตก็พลอยถูกหลงลืมไปด้วย   โมเดลการผลิตที่ไม่เท่าเทียม นอกจากจะถูกมองข้ามอยู่บ่อยๆ แล้ว ในด้านผลประโยชน์ ‘คนต้นทาง’ ในแวดวงอาหารก็ได้รับส่วนแบ่งจากมูลค่าอาหารน้อยกว่าด้วย องค์การอ็อกแฟมสากลได้ศึกษาห่วงโซ่อุปทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า ‘food supply chain’ ในปัจจุบันนั้นพบว่าในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ถ้าเราซื้อสินค้า 100 บาท ซูเปอร์มาร์เก็ตจะได้รับส่วนแบ่งถึง 30 บาท อีก 20 บาท จะอยู่ในมือของผู้ผลิตและผู้แปรรูปอาหารรายใหญ่ ส่วนผู้ผลิตรายย่อย เกษตรกร และแรงงานนั้นจะได้รับเงินรวมกันแล้วอยู่ที่ไม่เกิน 15 บาทเท่านั้นเอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าจำนวนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้ไม่ได้อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันนัก โดยส่วนใหญ่แล้ว เกษตรกรและแรงงานมีจำนวนมากกว่าผู้เล่นฝั่งอื่นๆ อยู่หลายเท่าตัว แต่กลับต้องอาศัยผู้ผลิต โรงงานแปรรูป และตัวกลางผู้จัดจำหน่ายที่มีอยู่ไม่กี่รายในตลาดในการส่งต่ออาหารให้ผู้บริโภค […]
See More..
  ถึงแต้มสะสมจากการช้อปในบัตรสมาชิกของคุณไม่น้อยหน้าใคร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณรู้จักซูเปอร์มาร์เก็ตดีแล้วจริงๆ ถ้าอยากเพิ่มดีกรีความเป็นนักช้อปพันธุ์แท้ให้สูงปรี๊ดกว่าเดิม วันนี้เรามีเรื่องราวการเดินทางของธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองไทยตั้งแต่ยุคตั้งไข่จนถึงปัจจุบันมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ   ยุคตั้งไข่ ย้ายตลาดเข้าห้างหรู ตำแหน่งผู้ริเริ่มซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีหน้าตาใกล้เคียงกับที่เราเห็นกันทุกวันนี้น่าจะต้องยกเครดิตให้ตกเป็นของห้างเซ็นทรัลสาขาสีลมที่เปิดทำการเมื่อปี 2511 แม้ว่าห้างสรรพสินค้าแห่งแรกจะถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีก่อนหน้านั้น แต่เซ็นทรัลสีลมเป็นห้างแห่งแรกที่นำสินค้าอุปโภคบริโภคมารวมอยู่ในตึกเดียวกันในลักษณะซูเปอร์มาร์เก็ต มีการจัดแบ่งโซนสินค้าตามหมวดหมู่ และที่สำคัญคือมีการนำระบบแคชเชียร์มาใช้อีกด้วย แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากนักเพราะคนไทยยังคงชินกับการจับจ่ายในตลาดสดอยู่ ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตมาเติบโตรุ่งเรืองเอาจริงๆ ในช่วงทศวรรษ 2530 ซึ่งมีการเปิดเสรีทางการเงิน นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติก้าวเข้ามาจับธุรกิจค้าปลีกกันอย่างคึกคัก ซูเปอร์มาร์เก็ตที่เรารู้จักกันดีหลายรายต่างมีจุดกำเนิดในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นแม็คโครที่เริ่มเปิดให้บริการสาขาแรกที่ลาดพร้าวในปี 2532 บิ๊กซีสาขาแรกที่ถนนแจ้งวัฒนะในปี 2537 และโลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์สาขาแรกที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ในปีเดียวกัน จากวันนั้น ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่หรือ Modern Trade ก้าวเข้ามาแทนที่การค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างเต็มตัว ซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์ต่างๆ เติบโตและขยายสาขาไปทั่วประเทศจนเรียกได้ว่าแทบไม่มีใครไม่เคยใช้บริการ   ยุคเปลี่ยนมือจนยุ่ง เพราะต้มยำกุ้งทำพิษ เฟื่องฟูได้ไม่นาน ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตก็มีอันต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลุ่มธุรกิจค้าปลีกของไทยประสบปัญหาหนี้สินต่างประเทศไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้เกิน 50% บริษัทค้าปลีกข้ามชาติหลายแห่งจึงได้โอกาสเปลี่ยนสถานะจากพาร์ตเนอร์ผู้ร่วมทุนมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แทน ตัวอย่างเช่น เครือซีพีเองได้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของ 2 กิจการหลัก คือ โลตัสซูเปอร์มาร์เก็ต ไปให้กับกลุ่ม Tesco ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกจากประเทศอังกฤษในปี 2541 และสยามแม็คโครให้กับ SHV […]
See More..
  ทุกวันนี้ซูเปอร์มาร์เก็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้คนอย่างปฏิเสธไม่ได้ ผู้บริโภคอย่างเราเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตไปจับจ่ายใช้สอยกันเป็นประจา หลายคนมีบัตรสมาชิกสะสมแต้มและส่วนลดมากมาย แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราเห็นข่าวจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและกดขี่ผู้คนที่เป็นผู้ผลิตต้นทางอาหารของเรา เช่น การบังคับใช้แรงงานในภาคประมง การซื้อขายที่ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สารเคมีตกค้าง และอื่นๆ จนผู้บริโภคอย่างเราเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าสินค้าที่เราซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตกันอยู่ทุกวันนี้ปนเปื้อนคราบน้าตาของใครมาบ้างหรือเปล่า นอกจากนี้ งานวิจัยระดับโลกยังพบด้วยว่าธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ส่วนแบ่งที่ ‘คนต้นทาง’ อาหารอย่างเกษตกรรายย่อยและแรงงานได้รับกลับลดลง ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางอาหารให้ดีทั้งต่อผู้บริโภคและคนต้นทางด้วย เราเชื่อว่าซูเปอร์มาร์เก็ตมีพลังมากพอที่จะช่วยให้เส้นทางอาหารมีความเป็นธรรมและยั่งยืนมากขึ้น แต่จากการประเมินของเราพบว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไทย ยังเปิดเผยนโยบายทางสังคมต่อสาธารณะอยู่น้อยมาก โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมสิทธิสตรีที่แทบไม่พบข้อมูลเลย ซึ่งการไม่มีหรือไม่เปิดเผยนโยบาย อาจทำให้ผู้บริโภคอย่างเราขาดความเชื่อมั่นในตัวซูเปอร์มาร์เก็ตได้ ในฐานะทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ และในฐานะลูกค้าขาประจาของซูเปอร์มาร์เก็ต เราจึงเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อบอกความห่วงใยและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้น 6 ข้อ ต่อซูเปอร์มาร์เก็ตไทย ซึ่งเราเชื่อว่าหากทำได้จริง นอกจากเส้นทางอาหารในประเทศไทยจะเป็นธรรมและยั่งยืนมากขึ้นแล้ว ผู้บริโภคเองก็จะเชื่อมั่นในตัวซูเปอร์มาร์เก็ตที่เรารักมากขึ้นตามไปด้วย ข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้นต่อซูเปอร์มาร์เก็ตของเรามีดังนี้ 1. เปิดเผยนโยบายด้านสังคม รวมถึงแนวทางการทำงานกับคู่ค้า ที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน ให้ผู้บริโภคได้รับทราบผ่านช่องทางสาธารณะ 2. แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงที่ขอบเขตของงานครอบคลุมความรับผิดชอบด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน และมีโครงสร้างการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง 3. มีกลไกการร้องทุกข์และเยียวยาที่สอดคล้องกับหลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP) โดยต้องเป็นช่องทางที่เกษตรกรรายย่อย แรงงาน และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ ตลอดจนมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมในการพัฒนากลไกดังกล่าว 4. จัดทำและเปิดเผย “นโยบายด้านสิทธิแรงงานสำหรับคู่ค้า” ที่มีประสิทธิภาพ […]
See More..
คุณชอบเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าไหนกันบ้าง? ชอบเข้าเพราะแบรนด์ คุณภาพสินค้า ส่วนลด หรือแค่เพราะอยู่ใกล้? มาดูกันชัดๆ ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่คุณเข้าประจำมีนโยบายทางสังคมที่เปิดเผยต่อสาธารณะมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
See More..
"ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวจากทีมซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก"
หมายเหตุ: อีเมลของคุณจะถูกเก็บรวบรวมโดยทีม ‘ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รัก’ สำหรับการรับส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการณรงค์ในประเด็นนี้เท่านั้นโดยจะไม่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยเด็ดขาด และคุณสามารถยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสารจากเราได้ตลอดเวลา